I-tami Junior Double Bass Recital
Mar Kampee

Repertoire
Franz Schubert
Arpeggione Sonata ( Adagio )
Henry Eccless
Sonata for Double Bass and Klavier ( Complete )
Serge Koussevitzky
Chanson Triste ( Complete )
Tomaso Albinoni / Remo Giazotto
Adagio in G minor ( Complete )
DESCRIPTION
I-tami ( Pain ) อ่านว่า อิตะมิ มาจากภาษาญีปุ่นที่มีความหมายว่า " ความเจ็บปวด "
มนุษย์ทุกคนล้วนมีความเจ็บปวดที่สร้างบาดแผล ยาว ลึก ทิ้งไว้ในจิตใจ บางคนเลือกที่
จะพูดถึงความรู้สึกของตนเอง ได้พูดในสิ่งที่ตนคิด ที่ตนเองต้องการ โดยไม่หวาดกลัว
ต่อผลที่จะตามมาว่าจะดีหรือไม่ แค่ตนได้พูด นั้นก็คือสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว ซึ่งมนุษย์เราหากได้ระบายสิ่งที่อยู่ในใจออกไปบ้าง กับครอบครัว คนรัก หรือคนสนิท ก็เหมือนกับได้ยกภูเขาออกจากอก แต่กลับบางคน ทุกอย่างไม่ได้ง่ายแบบนั้น การจะพูดแต่ละประโยค เหมือนคนน้ำท่วมปาก อยากพูดแทบตาย แต่ทำได้เเค่ก้มหน้าเเล้วเงียบ ยิ่งสะสมไว้มากเท่าไหร่ ก็เหมือนมีมีด กรีดแผลให้ใหญ่ขึ้นทุกครั้ง บาดแผลนั้นค่อยๆฝังลึกลงไปในจิตใจโดยไม่รู้ตัว
จนในที่สุดแล้วเมื่อคนเราถูกทำร้ายมากๆเริ่มดำดิ่งจมลงไปเรื่อยๆจนเสพติดความเจ็บปวด
เหล่านั้นจนชิน เราก็สร้างตัวตนอีกคนขึ้นมา ตัวตนที่ถูกเรียกว่า " ปีศาจ " ปีศาจสร้างขึ้นมา
จากความเจ็บปวด ความหวาดกลัว ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเอาไว้ปกป้องตัวเอง ป้องกันไม่ให้
ใครเข้ามาทำร้าย ปีศาจเมื่อได้ออกมาเเล้วก็ยากจะควบคุม และจะกัดกินใจของเจ้าของ
ไปเรื่อยๆ มันอาจจะช่วยให้เราไม่โดนทำร้าย แต่ปีศาจนี้แหละ ที่จะย้อนกลับมาทำร้ายเรา
ทำให้เราจมดิ่งลงไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ จนสุดท้ายหลายคนเลือกที่จะจบชีวิตลง
แต่ตอนนี้.....เราเลือกที่จะอยู่ เเละหาทางสื่อสารกับคนอื่นให้เข้าใจมามากขึ้น
ผ่านทางเสียงเพลงที่ถูกคัดสสรรให้เข้ากับบรรยากาศความเศร้ามากที่สุด และเป็นตัวเองที่สุด
ผูกร้อยเรื่องราวความเจ็บปวดในทุกช่วงชีวิต ตั้งเต่เกิดมา จนถึง ณ ปัจจุบัน โดยสื่อผ่านทางเสียงดับเบิ้ลเบส นักเต้นชาย หญิง และภาพยนตร์เงียบ ที่จะถูกฉายขณะที่มีการทำการแสดง เพื่อให้ผู้ชมได้รับอรรถรส และเข้าใจในสิ่งที่ผู้เเสดงต้องการจะสื่อมากขึ้น
Performers
Mar Kampee , Double Bass
Accompaniment
Kreksakul Jaree, piano
Kawirat Saimek, piano
Choreographer
Treephop Phasada
Kittima Kijsing
Main Program