top of page

H.M. King Bhumibol Adulyadej The great : Kinari suite

Performers

Krittaya Lorpiyanon (Violin) 

Pingka Sirisujinte (Violin)

Special Guests
Pattarapol Sukvajeeporn (Viola)
Pulish Likhitwatanasad (Cello)

Image-empty-state.png

Program note

     Kinari Suite เพลงพระราชนิพนธ์ชุดในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใน พ.ศ. 2502 ประกอบการแสดงบัลเลต์ชุด “มโนห์รา” ทรงแยกและเรียบเรียงเสียงประสานด้วยพระองค์เองทั้งชุด โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้วงดนตรีสุนทราภรณ์บรรเลงประกอบการแสดงบัลเลต์ชุด มโนห์รา ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร ซึ่งมีเนื้อเรื่องหลักมาจากวรรณคดีไทยเรื่อง พระสุธน – มโนห์รา

     ย้อนไปเมื่อ พ.ศ. 2502 ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรการแสดงโนราของคณะพุ่ม เทวา หรือเป็นที่รู้จักกันดีในปักษ์ใต้ว่า โนราขุนอุปถัมภ์นรากร ณ พลับพลาที่ประทับจังหวัดพัทลุง ครั้งนั้นพระองค์ทรงเกิดความสนพระทัยในท่วงท่าและความสนุกสนานของศิลปะพื้นบ้านของท้องถิ่นเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นไม่นานราว พ.ศ. 2504 เรื่องราวของโนราพื้นบ้านก็ได้ถูกแปรเปลี่ยนเป็นท่วงทำนองเพลงอันอ่อนหวานในชุด ‘กินรีสวีท’ (Kinari Suite) ซึ่งถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการเปิดตัวบัลเลต์สัญชาติไทยครั้งแรกในโลกที่ชื่อ ‘บัลเลต์มโนห์รา’ โดยมีผู้ฝึกซ้อม พระราชนิพนธ์บทละคร บทเพลง เรียบเรียงเสียงประสาน และอำนวยการแสดงดนตรีนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บัลเลต์มโนห์ราเป็นการแสดงที่นำบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และท่วงท่าความอ่อนช้อยของบัลเลต์มาผสมผสานกัน ในครั้งแรกที่มีการคิดขึ้นมานั้น พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ ‘คุณหญิงเดมอน’ หรือคุณหญิงเจเนเวียฟ เลสปันยอล เดมอน ซึ่งเป็นครูสอนบัลเลต์ที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้นเป็นผู้ออกแบบท่าเต้น ส่วนนางมโนห์ราคนแรกของไทยแสดงโดยคุณวนิดา ดุละลัมพะ และมีคุณสมศักดิ์ พลจิตร แสดงเป็นพระสุธน

 

เพลงพระราชนิพนธ์ชุดนี้มีทั้งหมด 5ท่อนประกอบด้วย

Nature Waltz (Kinari Suite)

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เพลง  “Nature Waltz”  เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่  31 เป็นเพลงหนึ่งในชุด  “Kinari  Suite”  ทรงแยกและเรียบเรียงเสียงประสานด้วยพระองค์เอง แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้วงดนตรีสุนทราภรณ์นำออกบรรเลง ประกอบการแสดงบัลเล่ต์เรื่องมโนห์รา   ณ  เวทีลีลาศสวนอัมพร   เพื่อหารายได้บำรุงสภากาชาดไทย  เพลงพระราชนิพนธ์นี้ไม่มีเนื้อร้อง จังหวะในเพลงนี้มีความสนุกสนานเหมือนกับเพลงเต้นรำเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณืและความผาสุกของป่าหิมพานต์ในบัลเลต์มโนราห์

 

Kinari Waltz (Kinari Suite)

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เพลง “Kinari Waltz” เป็นเพลงในชุด “Kinari Suite”  นำออกบรรเลงประกอบการแสดงบัลเลต์ชุดมโนห์รา  นับเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่  33  ซึ่งเพลงนี้เป็นเพลงที่มีจังหวะสนุกสนาน 

 

The Hunter (Kinari Suite)

     The  Hunter  เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่  32  ในชุด “Kinari  Suite” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงพระราชนิพนธ์เพลงนี้ตามเนื้อเรื่องของนางมโนห์รา  ในสุธนชาดก  

 

Love Story (ภิรมย์รัก)

     A Love Story เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 30 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องภาษาอังกฤษ “A Love Story” และพลเรือตรี ปรีชา ดิษยนันทน์ ประพันธ์เนื้อร้องภาษาไทย “ภิรมย์รัก” เพลงพระราชนิพนธ์ชุด “Kinari Suite” 

 

Blue Day (อาทิตย์อับแสง)

     เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 8 ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อวันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 ขณะประทับแรมบนภูเขาในเมืองดาฟอสประเทสสวิสเซอร์แลนด์ต่อมา ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ จักรพันธ์เพ็ญศิรินิพนธ์คำร้องทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ส่วนคำร้องภาษาฝรั่งเศส ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ น.ส.เปรมิกา สุจริตกุลถ่ายทอดความหมายจากคำร้องภาษาไทยเป็นภาษาฝรั่งเศส เมื่อปี 2552 โดยใช้ชื่อเพลงว่า Sans Toi สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมพันปีหลวงขณะยังทรงเป็นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ทรงขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ Blue Day พร้อมด้วย เพลงพระราชนิพนธ์ Dream of love dream of you หลังพระกระยาหารค่ำในงานเลี้ยง ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2492 ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานพระธำมรงค์หมั้น ในวันนั้น

Group biography

  •      Kinari Suite เพลงพระราชนิพนธ์ชุดในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใน พ.ศ. 2502 ประกอบการแสดงบัลเลต์ชุด “มโนห์รา” ทรงแยกและเรียบเรียงเสียงประสานด้วยพระองค์เองทั้งชุด โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้วงดนตรีสุนทราภรณ์บรรเลงประกอบการแสดงบัลเลต์ชุด มโนห์รา ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร ซึ่งมีเนื้อเรื่องหลักมาจากวรรณคดีไทยเรื่อง พระสุธน – มโนห์รา

  •      เราเลือกเพลงนี้เพราะว่าหลงใหลในเพลงพระราชนิพนธ์ด้วยส่วนหนึ่ง และเราเล็งเห็นว่าเพลงพระราชนิพนธ์เป็นวัฒนธรรมอีกวัฒนธรรมหนึ่งของประเทศไทยโดยพระมหากษัตริย์ที่ขึ้นทรงพระปรีชาสามารถด้านดนตรี

  •      เพลงพระราชนิพนธ์ชุดนี้มีทั้งหมด 5ท่อนประกอบด้วย Nature Waltz, Kinari Waltz, The Hunter, Love StoryและBlue Day โดยทั้ง5ท่อนมีทำนองที่แตกต่างกันรวมไปถึงจังหวะที่ต่างกันเพื่ออรรถรสในการประกอบบัลเล่ต์

  •      แต่เราเลือกที่จะนำท่อน Love Storyมาเล่นเพียงท่อนเดียวเนื่องจากในสถานการณ์ที่เลวร้ายแบบนี้ก็อยากจะทำให้ผู้ฟังได้ฟังดนตรีที่ไพเราะไม่กระโชกโฮกฮากและดื่มด่ำไปกับดนตรีที่มีความโแมนติกได้อย่างเต็มที่

bottom of page